ในปัจจุบันสีพื้น Epoxy และสีพื้น Polyurethane ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ที่เทพื้นด้วยคอนกรีต ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตให้สมบัติเรื่องความแข็งแรงและมีความทนทานสูงกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ แต่สมบัติของคอนกรีตก็ไม่สามารถจอบโจทย์เรื่องการใช้งานในด้านอุตสาหกรรมได้ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมบางประเภทมีลักษณะการใช้พื้นผิวอาคารในลักษณะรับแรงกระแทกและแรงกดเป็นระยะเวลานานๆ อาทิเช่น บริเวณที่มีการติดตั้งเครื่องจักร การขนส่ง การผลิต เป็นต้น ซึ่งในพื้นผิวบริเวณดังกล่าวนอกจากจะได้แรงกดและแรงเฉือนยังได้รับการกัดกร่อนจากสารเคมีอาทิเช่น น้ำมันล่อลื่น น้ำที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรม สารละลายกรดด่าง รวมถึงความชื้นจากกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องจักร ก่อให้เกิดการสึกกร่อน และการแตกร่อนของคอนกรีตได้ง่าย ส่งผลให้ความแข็งแรงของคอนกรีตมีค่าลดลง อีกทั้งในอุตสาหกรรมอาหารจะพบปัญหาอย่างมากเมื่อเศษอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอาหารแพร่เข้าไปในเนื้อคอนกรีตจะทำให้เกิดการสึกกร่อนและทำความสะอาดได้ยาก ส่งกลิ่นเหม็นเน่าและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นโรงงานเหล่านี้จึงมีความจำเป็นต้องทำการเคลือบผิวคอนกรีตด้วยสารเคลือบผิว (สีพื้น Epoxy หรือ สีพื้น Polyurethane) เพื่อลดปัญหาข้างต้นที่กล่าวมา
สำหรับสารเคลือบพื้นคอนกรีตในปัจจุบันมีสารเคลือบพื้นหลายชนิดที่นิยมใช้กัน เช่น
Polyurethane resin,
Polyester resin และ
Epoxy resin
ซึ่งในกลุ่มสารเคลือบผิวทั้ง 3 ชนิด Epoxy resin จะนิยมนำมาใช้มาที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากสีพื้น Epoxy (Epoxy resin) จะมีราคาถูกที่สุด ในขณะที่สีพื้น Polyurethane (สีพื้น PU) และ Polyester resin นั้นมีราคาค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการสมบัติพิเศษ เช่น สีพื้น PU (Polyurethane resin) จะให้สมบัติเรื่องความต้านทานการขัดถูสูง ทนการกัดกร่อนต่อสารเคมีได้ดี มีความยืดหยุ่นและยึดเกาะสูง ด้วยการปรับสภาพความแข็งและนุ่มได้ดีด้วยยางและเส้นใย จึงนิยมใช้ในงานตกแต่งหรืองานเชื่อมคอนกรีต สำหรับ Polyester resin นั้น ปฏิกิริยาขึ้นรูปเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน และต้องอาศัยตัวเร่งปฏิกิริยา หากใช้ตัวเร่งมากไปจะทำให้เกิดความร้อนสูงและอาจติดไฟได้ ส่วนสารเสริมแรงที่นิยมใช้ในสารเคลือบพื้นประเภทนี้คือ เส้นใยแก้ว (Glass fiber) ไม่ใช่ผงแร่ จึงไม่เหมาะกับงานระบบพื้นโรงงานเท่าไหร่นัก