สี epoxy (งาน DIY) ใครๆ ก็ทำได้

สี epoxy

สำหรับงาน สี epoxy หรือพื้นอีพ็อกซี่ประเภทงาน DIY สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. Epoxy Coating หรือ พื้นสีอีพ็อกซี่ชนิดทาด้วยลูกกลิ้ง
  2. Epoxy Self Leveling หรือ พื้นสีอีพ็อกซี่ชนิดให้เกรียงเกลี่ยและไหลปรับระดับได้

สำหรับในหัวข้อนี้ Admin จะขอกล่าวถึงขั้นตอนการทำพื้น สี epoxy ประเภท Epoxy Self Leveling (หัวข้อที่ 2) แต่สำหรับลูกค้าหรือผู้สนใจท่านใดสนใจเกี่ยวกับพื้นสีอีพ็อกซี่ประเภททา ก็สามารถศึกษาได้ที่ Click ที่ link ด้านล่างได้เลยครับ

สีอีพ็อกซี่ชนิดปาด : เทคนิค(ไม่) ลับของการเคลือบ สี epoxy Self Leveling บนพื้นปูนโรงงานอุตสาหกรรมที่ชาว pantip เห็นต้องอยากรีวิว
แน่นอนว่ามีลูกค้าหลายๆ ท่านที่มีความสนใจที่อยากจะทำพื้นสีอีพ็อกซี่ชนิดนี้และได้โทรสอบถามมาอย่างมาก ว่ามันทำยากไหมอยากทำเอง เห็นแล้วสวยมากสามารถทำเองได้ไหม แพงไหม วันนี้ Admin จึงถือโอกาสอธิบายวิธีการทำพื้นชนิดนี้เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับท่านที่มีความสนใจได้ศึกษากันครับ

งานสีอีพ็อกซี่แบบมีความหนาระดับมิลลิเมตรขึ้นไปนิยมใช้สีกลุ่มอีพ็อกซี่เชลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling) สีกลุ่มนี้ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เน้นให้พื้นมีความมันวาว ดูสะอาด และสามารถทำความได้ง่าย เช่น โชว์รูมรถ พื้นโรงงานที่เน้นความสวยงาม รวมถึงห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล เป็นต้น สำหรับงานพื้นระบบนี้สามารถทำได้หลากหลายระบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่วิ่งหรือบรรทุกไปมาอยู่บนพื้นที่ที่เราจะเคลือบสี

ยกตัวอย่างเช่น

  • เป็นบริเวณที่ใช้งานเบาแค่คนเดินไปมาและมีแค่รถเข็นชนิดงานไม่หนักมากไม่เกิน 200 kg ก็จะนิยมทำระบบพื้นอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่งความหนา 3.0 mm (Epoxy Self Leveling 3.0 mm)
  • เป็นพื้นที่มีรถโฟล์กลิฟล์ วิ่งบรรทุกของน้ำหนักราวๆ 2-3 ตัน โดยมากจะนิยมทำระบบสีอีพ็อกซี่ 4.0 mm ขึ้นไป ( Epoxy Self Leveling 4.0 mm) หรือบางคนเรียกว่างานกลุ่ม Hi-loading เป็นต้น
  • ถ้าจะเอาแบบง่ายๆ ก็ น้ำหนักที่หนักสุด + 1 จะเท่ากับความหนาสีครับ เช่น รถรวมของ 2 ตัน ก็จะเท่ากับ 3.0 mm ขึ้นไป (แนะนำระบบต่ำที่สุดของสีตระกูลปาดคือ 3.0 mm ขึ้นไปครับ สูตรของ Admin เองนะครับ

สำหรับในบทความนี้ Admin จะขออธิบายถึงวิธีการทำระบบงานพื้นสีอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่งความหนา 3.0 mm ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากและไม่ยากจนเกินไป อีกทั้งระบบนี้ Admin เชื่อว่าเป็นระบบงานที่น่าจะตอบโจทย์ลูกค้าหลายๆ ท่านได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องความคงทน การยึดเกาะที่ดี รวมถึงการมีระบบการบล็อกความชื้นในตัว (แน่นอนจริงๆ)

ปล. สำหรับระบบ 4.0 mm หรือระบบที่มากกว่า Admin จะขอกล่าวในโอกาสต่อไป (รอให้ปรับปรุงระบบขึ้นให้ทัน THAILAND 4.0 รับรองได้ศึกษากันแน่นอนครับ ) โม้อยู่ตั้งนาน ก็ขอเริ่มเลยละกันนะครับ ก่อนอื่นต้องมาดูรูปของชั้นสีอีพ็อกซี่ก่อน

แบบ Layer ของพื้น สีอีพ็อกซี่ ความหนา 3.0 mm

สี Epoxy-Self-Leveling-3.0-mm

จากรูปจะเห็นได้ว่าระบบพื้นอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่งความหนา 3.0 mm (Epoxy Self Leveling 3.0 mm) จะประกอบไปด้วยชั้นสี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

  1. Moisture Barrier ความหนา 1.0 mm หรือรู้จักกันดีในนามสารบล็อกความชื้น (Product ของเราเรียกว่า Terrapac-100)
  2. Epoxy Putty ความหนา 0.5 mm หรือรู้จักกันในนามฟุ๊ตตี้ ถ้าใน Admin อธิบายง่ายๆ ก็คือ สารปรับพื้นให้เรียบและลดฟองอากาศนั้นเอง (Product ของเราเรียกว่า Epoxy Putty MSC)
  3. สีอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling) ความหนา 1.5 mm หรือช่างบางคนเรียกสีเซลๆ อธิบายๆ ง่ายก็คือ สีทับหน้าแบบปาดนั้นเองครับ ชั้นนี้ละครับที่มันเงาๆ วาวๆ (Product ของเราเรียกว่า Epoxy Self Leveling MSC)

หลังจากเกริ่นมาได้พักใหญ่แล้วก็ขอยกตัวอย่างรูปหน้างานจริงจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ โจทย์คือลูกค้าต้องการเคลือบพื้น Epoxy Self Leveling 3.0 mm

ภาพตัวอย่างพื้นก่อนทำการติดตั้ง สี epoxy ชนิด Epoxy Self Leveling ความหนา 3.0 mm

จากรูปหน้างานเดิมจะเป็นพื้นกระเบื้องยางที่ชำรุดและมีคราบเชื้อรา สิ่งแรกที่ต้องทำคือปิดกันแนวพื้นที่ทำงาน และ การรื้อพื้นเดิมออกก่อน (รื้อกระเบื้องยางและพวกคราบสกปรกออก) เพราะถ้าเคลือบทับบนพื้นที่เสื่อมสภาพจะทำให้คุณภาพของพื้นใหม่เสื่อมสภาพได้ง่ายตามฐานรากที่ไม่ดี หลังจากได้ทำการรื้อและทำความสะอาดคราบเศษกระเบื้องยางออกหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขัดพื้นบริเวณที่ต้องการเคลือบสี สำหรับลูกค้าหรือผู้สนใจท่านใดเจอปัญหาเรื่องพื้นปูนที่แตกเป็นแนวหรือเป็นการทรุด Admin แนะนำให้ทำการซ่อมพื้นปูนให้เสร็จในขั้นตอนนี้ก่อน ซึ่งสามารถศึกษาแนวทางการซ่อมพื้นปูนเบื้องต้นจาก link ด้านล่างนี้

ขัดเปิดหน้าปูนและขัดผิวหน้าที่ขรุขระ

สำหรับในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องขัดอย่าง Admin ก็ได้นะครับ แค่มีเครื่องเจียมือใส่ใบขัดเพชรหรือช่างบางคนเรียกใบเจียบัวก็ขัดได้เช่นกันครับ เมื่อทำการขัดพื้นเสร็จแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การตัดพื้นให้เป็นตารางลักษณะคล้ายตารางหมากรุกขนาดประมาณ 50 x 50 cm และในบริเวณขอบจะเป็นการตัดเป็นแนวเฉียงเพื่อเพื่อการยึดเกาะของสีให้ดีขึ้น ตามรูป

การตัดพื้นและเก็บรายละเอียดจำพวกคราบสิ่งสกปรก

หลังจากเราขัดและตัดเตรียมพื้นเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำความสะอาดพื้นด้วยการกวาดหรือดูดฝุ่นก่อนการเคลือบสีนะครับ ไม่งั้นชั้นสีที่ออกมาจะมีตำหนิพวกฝุ่นดังกล่าวและยังส่งผลต่อการยึดเกาะของสีด้วย ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการติดตั้งสีกันความชื้น ซึ่งก่อนที่จะมาดูขั้นตอนการทำ Admin ขอนำเสนอรูปภาพ Product ของบริษัทที่ใช้ในการอธิบายครั้งนี้ก่อน (แอบโฆษณา เดี๋ยวไม่มีงบในการพัฒนาเว็บ เดี๋ยวอดขึ้น THAILAND 4.0 )

สีกันชื้น Terrapac-100 กันความชื้นสำหรับงาน สี epoxy

สารกันความชื้น ราคา : xxxx  บาท   (โทร : 086-620-0042 , 061-859-0810)

สำหรับอัตราส่วนผสม (A= 3.0 kg, B= 1.5 kg, C= 20 kg, น้ำ 5 kg)

ขั้นตอนการผสมสีกันชื้น Terrapac-100

ขั้นตอนการผสมสีกันชื้น จะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. นำถังสะอาดเทน้ำสะอาดใส่จำนวน 5 กิโลกรัม (ต้องไม่ใช้น้ำบาดาล น้ำรีไซเคิ้ล หรือน้ำ DI เพราะจะทำสีกันชื้นมีโอกาสไม่แห้งได้)
ขั้นตอนการผสม สีกันชื้น

2. เท Part A และ Part B ผสมในน้ำจากนั้นปั่นให้เข้ากันด้วยสว่านปั่นสี

Terrapac-100

3.การปาดหรือการเกลี่ยเคมีกันชื้น

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งขั้นตอนนี้จะเป็นการใช้เกรียงมือ ฟันร่อง 2 mm เกลี่ยให้สีมีการกระจายตัวเท่าๆกันทั่วทั้งพื้นที่

เกลี่ยสารกันชื้น Terrapac-100

ขั้นตอนนี้ก็เป็นเพียงการเกลี่ยเฉลี่ยเท่านั้นครับ ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าเราต้องเกลี่ยสีให้หมดหลังผสมภายในเวลาไม่เกิน 20 นาทีนะครับ ถ้าไม่อย่างนั้น สีจะเริ่มเซ็ตตัวและลอยบนน้ำทำให้การเกลี่ยทำได้ยากขึ้น หลังจากเกลี่ยเสร็จแล้วไปดูรูปกันครับ

Terrapac-100

สำหรับในขั้นตอนนี้สีกันชื้นจะแห้งตัวภายใน 12 ชั่วโมง หลังจากสีแห้งแข็งแล้วจะเป็นการขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100 บริเวณที่เป็นหยดสีหรือเป็นสันเกรียง (บริเวณที่ไม่เรียบ เป็นสัน) หลังจากขัดบริเวณดังกล่าวเสร็จแล้วให้ทำการปรับพุ๊ตตี้ (Epoxy Putty) สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคือ Epoxy Putty MSC

สี Epoxy Putty MSC ปรับเรียบลดฟอง

สี epoxy putty MSC

สีอีพ็อกซี่พุ๊ตตี้ (Epoxy Putty MSC) ราคา : xxxx  บาท   (โทร : 086-620-0042 , 061-859-0810)

สำหรับอัตราส่วนผสม (A= 20.0 kg, B= 4.0 kg) แนะนำให้แบ่งผสมทีละไม่เกิน 2 kg ( A= 2.0 kg, B= 0.4 kg) ทั้งนี้เนื่องจากกรณีที่เราผสมเยอะเกินไปสีจะหนืดและเซ็ตตัวอย่างรวดเร็ว หลังผสมเสร็จจะเป็นการทำไปปาดโดยใช้เกรียงฟันเรียบ เกลี่ยไปบนชั้นของสีกันชื้นตามรูป

Epoxy Putty MSC

สำหรับสีชั้นนี้จะแห้งตัวภายใน 4-6 ชั่วโมง หลังจากสีแห้งแข็งตัวแล้วให้ทำการขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100 บริเวณที่เป็นรูอากาศและบริเวณที่มีหยดสีหรือสันที่ไม่เรียบ หลังจากนั้นให้ดูดฝุ่นหรือกวาดทำความสะอาดอีกครั้ง จากนั้นให้ทำการโป้วบริเวณที่มีรูอากาศ (โป้วเฉพาะจุด) สำหรับการโป้วเฉพาะจุดให้ผสมสีอีพ็อกซ๊่พุ๊ตตี้ตามอัตราส่วนผสมเดิม แล้วนำมาโป้วเฉพาะจุดครับ ตามรูป

Epoxy Putty MSC

สำหรับขั้นตอนนี้สีจะแห้งตัว 4-6 ชั่วโมง เทคนิคสำหรับขั้นตอนนี้คือ เราจะโป้วหรือปรับพุ๊ตตี้จนกว่าพื้นเราจะไม่มีรูและมีความเรียบมากจริงๆ ถึงผ่านและสามารถไปขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะทำให้หน้างานออกมาสวยและดูดีครับ พื้นจะสวยไม่สวยขั้นตอนนี้ค่อนข้างสำคัญครับ

หลังจากสีแห้งตัวแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการทับหน้าด้วยสี Epoxy Self Leveling  สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคือ Epoxy Self Leveling MSC ตามรูปครับ

Epoxy Self Leveling MSC สีทับหน้าคุณภาพสูง

Epoxy Self Leveling MSC

สีอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling) ราคา : xxxx  บาท   (โทร : 086-620-0042 , 061-859-0810)

สำหรับอัตราส่วนผสม (A= 20.0 kg, B= 5.0 kg) เมื่อผสมเสร็จแล้วนำไปเกลี่ยบนพื้นที่เราได้ปรับชั้นสี putty ไว้แล้ว โดยใช้เกรียงฟันปลาขนาดฟันร่อง 3 mm จากนั้นให้กลิ้งลูกกลิ้งหนามไล่ฟองตามทันสีที่เกลี่ยเสร็จแล้ว เทคนิคสำหรับชั้นนี้คือ มีเวลาในการเกลี่ยและกลิ้งไล่ฟองไม่เกิน 20 นาทีหลังผสม ถ้ามากกว่านี้สีจะหนืดและจะไม่ไหล ทำให้อาจคงรูปรอยเกลี่ยหรือรอยกลิ้งได้ง่าย ตามรูปครับ

Epoxy Self Leveling MSC

สำหรับสีชั้นนี้จะแห้งตัวภายใน 6-8 ชั่วโมงครับ

ภาพหลังติดตั้งสี Epoxy Self Leveling MSC แล้วเสร็จ

Epoxy Self Leveling MSC

รูปผลงานหลังสีแห้งตัวที่ 8 ชั่วโมงครับ

สำหรับลูกค้าท่านใดที่มีข้อสงสัยหรือสนใจผลิตภัณฑ์ สามารถโทรสอบถามได้ที่ 086-620-0042 (โต) หรือ 061-859-0810 (เจ) ได้ตลอดครับ