พื้นอีพ็อกซี่ กับเรื่องงานพื้น

Epoxy Self Leveling title

สำหรับท่านที่กำลังสนใจเรื่อง พื้นอีพ็อกซี่ ท่านมาถูกที่แล้ว เพราะเราจะมาแจงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของสีและลักษณะของ พื้นอีพ็อกซี่ ว่ามีกี่ลักษณะและรูปแบบการใช้งานในอุตสาหกรรมหลักๆ มีลักษณะใดบ้าง จะออกแบบรูปแบบพื้นยังไงให้เหมาะสมกับโรงงานหรืออุตสาหกรรมของเรา ซึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จะมีรูปแบบการทำงานและลักษณะการใช้งานพื้นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกใช้พื้นอีพ็อกซี่ผิดประเภทจึงควรทำความเข้าใจประเภทของพื้นอีพ็อกซี่และรูปแบบการใช้งานก่อน เพื่อให้เกิดความคงทนและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถเลือกศึกษาตามส่วนต่างๆ ได้ดังนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พื้นอีพ็อกซี่ และสีอีพ็อกซี่

-คุณสมบัติเด่น ๆ ของ พื้นอีพ็อกซี่ เมื่อเทียบกับพื้นอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ

-ทำไมพื้นโรงงานทั่วไปจึงนิยมทำ พื้นอีพ็อกซี่มากกว่าพื้นชนิดอื่นๆ

-ชนิดและประเภทของพื้นสีอีพ็อกซี่

-ควรเลือกใช้พื้นสีอีพ็อกซี่แบบประเภทใด ให้เหมาะสมกับพื้นโรงงานของเรา?

-ประเภทของพื้นปูนกับงานติดตั้งพื้นสีอีพ็อกซี่

-ข้อควรระวังก่อนทำพื้นสีอีพ็อกซี่ (สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนติดตั้งงานสีอีพ็อกซี่)

-สีอีพ็อกซี่กับการทำความสะอาดพื้นปูนก่อนการเคลือบสี

-ประเภทของชั้นสีอีพ็อกซี่ที่มาประกอบกันเพื่อเกิดเป็นพื้นสีอีพ็อกซี่ หน้าที่และความหมายของแต่ละชั้นสี

        –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่ไพร์เมอร์ (Epoxy Primer MSC)

        –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่โค้ทติ้ง (Epoxy Coating MSC)

        –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่กันชื้น (Terrapac-100)

       –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่พุ๊ตตี้ (Epoxy Putty MSC)

       –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่มอร์ต้า (Terraflex)

      –  หน้าที่และความหมายของสีอีพ็อกซี่อีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling MSC)

 -เฉดสีอีพ็อกซี่ และการอ่านความหมายของเฉดสีแบบสากล (มาตรฐานสากล RAL K7)

 -อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งพื้นสีอีพ็อกซี่

-รูปแบบการคำนวณปริมาณของสีอีพ็อกซี่ต่อขนาดพื้นที่

 -รูปแบบการตีเส้นทางเดินหรือกรอบสีอีพ็อกซี่

– การดูแลรักษาพื้นสีอีพ็อกซี่

– สีอีพ็อกซี่กับปัญหาทางเทคนิคขณะติดตั้งที่พบได้บ่อย

สีอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling MSC

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พื้นอีพ็อกซี่ และสีอีพ็อกซี่

สีอีพ็อกซี่คือการทำปฏิกิริยาของอีพ็อกซี่เรซิ่นกับพอลิเอไมด์ฮาร์ดเดนเนอร์ (ตัวเร่งแข็ง) แล้วเกิดการเชื่อมความภายในโครงสร้างโมเลกุล และเมื่อเวลาผ่านไประยะเวลาหนึ่งปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารทั้งสองจะทำให้เกิดการแข็งตัวขึ้นทำให้เกิดเป็นชั้นสีหรือชั้นฟิล์มสีที่มีความเงาสูง ทนทานต่อการขัดถู ยึดเกาะดีกับสีอีพ็อกซี่ด้วยกันได้ดี ทำความสะอาดได้ง่าย และยังเป็นสีที่ฟ้องเรื่องความสะอาดได้ดีมาก นอกจากนี้ยังมีเฉดสีที่หลากหลายและความทนทานต่อสารเคมีได้ดี**  ซึ่งในปัจจุบันนิยมเรียกสีอีพ็อกซี่ตามการใช้งานหรือการติดตั้ง ซึ่งสีอีพ็อกซี่ชนิดทา(ใช้ลูกกลิ้งในการกลิ้งสี) จะรู้จักกันในชื่อว่าสีอีพ็อกซี่โค้ทติ้ง (Epoxy Coating) สำหรับสีที่มีความหนา (หนามากกว่า 1 mm) และใช้เกรียงในการติดตั้งจะรู้จักกันในชื่อ สีอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling) จะเป็นสีอีพ็อกซี่ที่สามารถไหลปรับระดับได้และมีความเงาสูงมาก สูงกว่าสี Epoxy Coating สำหรับสีทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาจะมีส่วนประกอบและรูปแบบการใช้งานที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่ง Admin จะขอลงรายละเอียดในหัวข้อถัดไป และแน่นอนว่าพื้นอีพ็อกซี่แต่ละชนิดก็จะถูกเรียกตามประเภทของสีที่ถูกนำมาใช้ เช่นมีการใช้สีอีพ็อกซี่ชนิดทา ก็จะเรียกพื้นชนิดนี้ว่า พื้นอีพ็อกซี่โค้ทติ้ง ( Epoxy Coating Flooring) และพื้นที่มีการนำสีอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling) มาใช้ติดตั้ง ก็จะเรียกพื้นชนิดว่า พื้นอีพ็อกซี่เซลเลเวลลิ่ง (Epoxy Self Leveling Flooring) เป็นต้น  ซึ่งต่อไปนี้ Admin จะขอเรียกพื้นอีพ็อกซี่ว่าพื้นสีอีพ็อกซี่เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นในบทความต่อไป

epoxy chemical structure
Chemical Structure

คุณสมบัติเด่น ๆ ของ พื้นอีพ็อกซี่ เมื่อเทียบกับพื้นอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ

พื้นอีพ็อกซี่

เป็นพื้นที่ให้ความเงาสูง จึงมีคุณลักษณะของการฟ้องเรื่องความสะอาด สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ยึดผิวหน้าต่างๆ ได้ดี มีแรงยึดเกาะได้ดีกับสีตัวเดิม รับน้ำหนักได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องฝุ่นปูน ติดตั้งได้ง่าย มีเฉดสีหลากหลาย สีสันสวยงาม ทนกรด ด่างและสารเคมีหลายๆ ชนิด**
การนำไปใช้งาน
เหมาะแก่การนำไปใช้งานพื้นอุตสาหกรรมทั่วไป ห้างสรรพสินค้า อาคารที่อยู่อาศัย ส่วนงานผลิต พื้นที่วิศวกรรม เครื่องปั้มโลหะ พื้นที่เก็บสินค้า โชว์รูม โรงพยาบาล ห้องยา ห้องควบคุมสภาวะ เนื่องจากพื้นอีพ็อกซี่มีข้อดีที่ตอบโจทย์ได้หลายอย่างจึงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและเนื่องจากคุณสมบัติไม่มีรอยต่อไม่เป็นที่สะสมของเชื้อรา พื้นอีพ็อกซี่จึงได้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่อยู่ในกลุ่มมาตรฐานหลายๆ ชนิด เช่น อย GMP เป็นต้น

ทำไมพื้นอีพ็อกซี่ โรงงานทั่วไปจึงนิยมทำ มากกว่าพื้นชนิดอื่นๆ

พื้น PU สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

จากคุณสมบัติข้างต้น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงนิยมเลือกพื้นสีอีพ็อกซี่มากกว่าพื้นชนิดอื่น ทั้งมองในแง่ของการติดตั้ง การซ่อมบำรุง และการทำงานแบบ Visual Zone ที่ทำให้สังเกตพื้นที่ทำงานได้ง่าย (ใช้เฉดสีแสดงพื้นที่ทำงาน เช่น บริเวณพื้นทางเดินกำหนดให้เป็นสีส้ม พื้นที่วางของดีกำหนดเป็นสีขาว กรอบพื้นที่ทำงานแสดงด้วยเส้นกรอบสีเหลือง เป็นต้น) ทำให้เกิดความคุ้มค่าในแง่การลงทุนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและสวัสดิภาพของพนักงาน และเนื่องจากพื้นสีอีพ็อกซี่เป็นพื้นที่เรียบและไม่เก็บฝุ่น ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีความสะอาด ได้มาตรฐานสูง ตามหลัก 5ส ของโรงงาน ทั้งในมิติระต้น ระยะกลาง และระยะปลายก็สามารถติดตั้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องเทปูนใหม่(เหมือนพื้นกระเบื้องหรือพื้น Hardener) และใช้เวลาในการติดตั้งไม่นานเท่ากับพื้นชนิดอื่นๆ เป็นต้น

ชนิดและประเภทของ พื้นอีพ็อกซี่

ชนิดและพื้นสีอีพ็อกซี่สามารถแบ่งประเภทได้หลากหลายไม่ว่าจะแบ่งตามนิยามของชั้นสีที่นำมาใช้ เช่น Epoxy Coating Moisture Barrier 1.5 mm หรือ Epoxy Self Leveling High Loading 5.0 mm เป็นต้น ส่วนนิยามของชั้นสีไม่ว่าจะเป็น Moisture Barrier คืออะไร หรือ แตกต่างจากระบบ High loading ยังไง Admin จะขอกล่าวในหัวข้อถัดไป เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่าย Admin จะขอแบ่งประเภทพื้นสีอีพ็อกซี่ตามชนิดของสีทับหน้าที่เลือกใช้ เช่น

 Epoxy Coating Moisture Barrier 1.5 mm หมายถึง ระบบที่ทับหน้าด้วยสีอีพ็อกซี่ชนิดทา (Epoxy Coating) และมีชั้นของตัวบล็อกความชื้น(Moisture Barrier) ความหนารวมคือ 1.5 mm เป็นต้น

พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Coating Moisture Barrier 1.5 mm
ความหมายชั้นสีอีพ็อกซี่แบบต่างๆ
ตัวอย่างระบบพื้นสีอีพ็อกซี่ Epoxy Coating Moisture Barrier 1.5 mm

Epoxy Self Leveling High Loading 5.0 mm หมายถึง ระบบที่ทับหน้าด้วยสีอีพ็อกซี่ชนิดเท (Epoxy Self Leveling) และมีชั้นของตัวรับน้ำหนัก ความหนารวมคือ 1.5 mm เป็นต้น

พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling High Loading 5.0 mm
พื้นอีพ็อกซี่ กับความหมายชั้นสีอีพ็อกซี่
ตัวอย่างระบบพื้นสีอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling High Loading 5.0 mm

ควรเลือกใช้ พื้นอีพ็อกซี่ แบบประเภทใด ให้เหมาะสมกับพื้นโรงงานของเรา?

สำหรับท่านที่กำลังสงสัยว่าแล้วพื้นอีพ็อกซี่แบบไหนเหมาะสมกับพื้นโรงงานของเรานั้น Admin ขอตอบกว้างๆ ดังนี้ ให้พิจารณาเป็นหัวข้อๆ ดังนี้

  1. พื้นที่เราต้องการเคลือบสีอีพ็อกซี่นั้น อยู่ในโซนเปียกหรือโซนแห้งหรือน้ำมัน
  2. พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีการสัญจรของรถหนักมากน้อยเพียงใด
  3. เน้นความสวยงามเพื่อดึงดูดใจลูกค้ากรณีที่เยี่ยมชมหรือไม่หรือแค่เน้น Function การใช้งานแค่ไม่ให้ฝุ่นปูนขึ้น
  4. งบประมาณที่ใช้

ข้อพิจารณาที่ 1 พื้นที่เราต้องการเคลือบ พื้นอีพ็อกซี่ อยู่ในโซนเปียกหรือโซนแห้งหรือน้ำมัน

พื้นที่บริเวณที่มีการใช้น้ำ

พื้นเปียกน้ำ

ซึ่งแน่นอนว่าพื้นอีพ็อกซี่เป็นพื้นที่ไม่ชอบน้ำหรือความชื้น แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้ในบริเวณที่มีการใช้น้ำทำความสะอาดไม่ได้เลย แต่ Admin แค่แนะนำว่าบริเวณที่การใช้น้ำตลอดเวลาเช่น ห้องที่มีการฉีดซักล้าง ที่เปียกน้ำตลอดเวลาไม่ควรใช้ เพราะกรณีที่เราควบคุมการติดตั้งพื้นไม่ได้ 100% มีโอกาสที่ความชื้นหรือน้ำจะรอดใต้พื้นสีอีพ็อกซี่และทำให้พื้นสีอีพ็อกซี่ลอกร่อนออกมาได้ง่าย แต่กรณีที่เลี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องใช้จริงๆ แนะนำให้ทำ Slope ปูนเพื่อไล่ระดับน้ำไว้ 3-5 CM เพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายได้ได้ดีโดยไม่มีน้ำขังบนพื้นสีอีพ็อกซี่มากจนเดินไป แต่ถ้าให้เหมาะสมแนะนำให้ใช้พื้น PU Concrete จะเหมาะสมที่สุด

 

      สรุปพื้นที่บริเวณที่มีการใช้น้ำ

  1. มีการใช้น้ำตลอดเวลา (พื้นเปียกน้ำตลอด) ใช้พื้น PU Concrete เหมาะสมกว่า แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ทำ Slope ปูน 3-5 cm เพื่อให้น้ำไหลลงคลองระบายน้ำได้สะดวก
  2. มีการใช้น้ำทำความสะอาดพื้นบ้างเป็นครั้งคราว ใช้พื้นสีอีพ็อกซี่ได้ ไม่มีปัญหาครับ

พื้นที่บริเวณเครื่องจักรหรือห้องซ่อมบำรุงที่มีคราบน้ำมัน

รูปแบบ industry pumping

พื้นอีพ็อกซี่ เหมาะสมเรื่องไม่กลัวคราบน้ำมัน ท่านสามารถเช็ดคราบน้ำมันออกได้โดยไม่มีคราบฝังบนพื้นสีอีพ็อกซี่ นอกจากนี้จะทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวดูสะอาดและมีสีสันกว่าเดิมมากๆ

ข้อพิจารณาที่ 2 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีการสัญจรของรถหนักมากน้อยเพียงใด ?

รูปแบบรถ Forklift ตักสินค้า

    พื้นสีอีพ็อกซี่นั้นสามารถรับน้ำหนักได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งโครงสร้างการรับน้ำหนักของสีอีพ็อกซี่แต่ละชั้นจะสามารถรับน้ำหนักได้ระดับหนึ่งเพื่อให้สีอีพ็อกซี่รับน้ำหนักได้มากขึ้นและใช้ได้ดีในระยะยาวอยากจะต้องเพิ่มชั้นสีรับน้ำหนักเข้ามา (นับเฉพาะกรณีที่มีการสัญจรประจำเท่านั้น) เช่น มีรถ โฟล์กคลิฟท์วิ่งไปมาตลอด นำหนักบรรทุกรวมตัวรถคือ 3-4 ตัน ในกรณีนี้ถือว่าใช้งานพื้นหนักจำเป็นต้องเพิ่มชั้นรับน้ำหนักนั้นคือ ชั้นสี Mortar หรือ High Loading แต่ถ้าแค่คนเดินก็ใช้ระบบปกติได้เลย โดยไม่ต้องมีชั้นนี้ เพราะจะเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ทั้งระบบ Epoxy Coating หรือ Epoxy Self Leveling ก็ได้

เน้นความสวยงามเพื่อดึงดูดใจลูกค้ากรณีที่เยี่ยมชมหรือไม่หรือแค่เน้น Function การใช้งานแค่ไม่ให้ฝุ่นปูนขึ้น ?

พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling vs Epoxy Coating

กรณีที่เราเน้นความสวยงามมากๆ เราอาจจะต้องใช้พื้น Epoxy Self Leveling ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าระบบ Epoxy Coating 2-3 เท่าตัว แต่กรณีที่เราเน้นแค่การใช้งานเพื่อไม่ให้ฝุ่นปูนขึ้น ก็สามารถใช้ระบบ Epoxy Coating (ชนิดทา) ได้เลยครับ แต่ถ้าจะให้ทนและดีหน่อย Admin แนะนำให้เพิ่มระบบกันชื้นเข้ามาด้วยจะทนมากครับ เพิ่มอีกไม่เท่าไหร่ แต่สบายยาวๆเลย แต่ไม่ใช่ว่าพื้น Epoxy Coating ไม่สวยนะครับ แค่มันไม่เงาเท่าพื้น Epoxy Self Leveling เท่านั้นเอง ความเงาจะอยู่ระดับ 60-70 % ของ Epoxy Self Leveling โดยประมาณ