ปัญหาพื้นอีพ็อกซี่เกิดเอมีนบลัช(Amine Blush)และการบูม (Blooming)

งานพื้นอีพ็อกซี่หรืองาน epoxy ที่มีการติดตั้งในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำหรือในบริเววณที่มีความชื้นสูง เมื่อสีเริ่มมีการบ่มตัวจะเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงทำให้ส่งผลต่อคุณภาพของผิวเคลือบ ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะปรากฏออกมาในหลากหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ไม่สามารถมองเห็น อาทิเช่น ปรากฏการณ์พื้นอีพ็อกซี่เกิดปัญหา เอมีนบลัช (Amine Blushing Defect) และปัญหา การบลูม (Blooming Defect)จริงๆแล้วปัญหาทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเอมีนบลัชหรือการบลูมนั้น มีแหล่งที่มาที่เหมือนกันจนบางครั้งหลายๆคน โดยเฉพาะช่างหรือทีมติดตั้งที่ไม่่ใช่นักเคมีโดยตรงจะแยกไม่ออกหรือมองข้ามปัจจัยเหล่านี้ไปนั้นก็คือ ความชื้น(Humidity) ซึ่งวันนี้ Admin จะขออธิบายปรากฏการณ์ทั้ง 2 ในรูปแบบง่ายๆ (แต่อ้างอิงวิชาการ) ดังนี้ ปัญหาพื้นอีพ็อกซี่เกิดเอมีนบลัช (Amine Blushing Defect) เอมีนบลัชจะปรากฏลักษณะเป็นจุดของหยดน้ำบนผิวของพื้นอีพ็อกซี่ ทั้งนี้เนื่องจากในระหว่างการบ่ม(สีเกิดการแห้งตัว) ของสีอีพ็อกซี่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง ความชื้นที่อยู่รอบๆ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำบนชั้นฟิล์มของพื้นอีพ็อกซี่ (คล้ายๆกับเวลาเราเอาน้ำแข็งใส่แก้วจะพบหยดน้ำรอบๆ แก้ว Continue reading ปัญหาพื้นอีพ็อกซี่เกิดเอมีนบลัช(Amine Blush)และการบูม (Blooming)

ขั้นตอนและวิธีการลงบล็อกความชื้น ซีเมนต์เบส (Cement Base)

ในขั้นตอนการทำพื้นอีพ็อกซี่มีความจำเป็นอย่างมากที่ช่างหรือผู้ทำพื้นต้องตรวจสภาพพื้นปูนและปริมาณความชื้นของปูนที่จะทำ ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติของพื้นอีพ็อกซี่จะเป็นสีที่มีชั้นฟิล์มเป็นฟิล์มทึบ ไม่ยอมให้น้ำหรือความชื้นผ่านได้ทำให้บางครั้งสามารถพบปัญหาการบวมพองของสีอีพ็อกซี่ได้หลังจากการติดตั้งไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยมากจึงนิยมทำการบล็อกความชื้นก่อนการทำพื้นอีพ็อกซี่ ซึ่งเคมีกันชื้นของบริษัทจะเป็นสารกลุ่ม Water Cement Base ไม่มีกลิ่น ใช้น้ำเป็นส่วนผสม สามารถกันความชื้นได้ประมาณ 10% น้ำสำหรับบทความนี้ได้เขียนขึ้นเนื่องจากลูกค้าโทรสอบถามจำนวนมาก วันนี้ Admin เลยตั้งใจเขียนบทความเพื่อเป็นวิทยาทานในการทำหรือการติดตั้งในขึ้นตอนดังกล่าวครับ (สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะขั้นตอนการผสมและการปาดเคมีกันชื้นครับ)สำหรับอัตราส่วนผสม (A= 3.0 kg, B= 1.5 kg, C= 20 kg, น้ำ 5 kg) 1. นำถังสะอาดเทน้ำสะอาดใส่จำนวน 5 กิโลกรัม (ห้ามใช้น้ำบาดาล น้ำรีไซเคิ้ล น้ำ DI) 2. เท Part Continue reading ขั้นตอนและวิธีการลงบล็อกความชื้น ซีเมนต์เบส (Cement Base)

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการปูพื้นกระเบื้องเทียบกับการเคลือบพื้นด้วยสีอีพ็อกซี่

กระเบื้องเซรามิค จะมีข้อดีดังนี้คือ มีให้เลือกมากมายทั้งรูปแบบ ลวดลาย สีสันและราคา แข็งแกร่ง ทนทาน กันน้ำได้ดี ติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายใน ใช้ปูบนพื้นคอนกรีต ที่ไม่จำเป็นต้องแห้งสนิท แต่ต้องกันซึมไว้เรียบร้อย การปูกระเบื้องเล่นลาย เป็นสิ่งที่ต้องระวังมาก เพราะกระเบื้องแต่ละแผ่น แต่ละยี่ห้อ จะมีขนาดและความหนา ไม่เท่ากัน ทำให้ปัญหาของการปูกระเบื้องก็คือกระเบื้องมักขาดตลาดในลายที่ต้องการ และหากเสียหาย แตกหักภายหลัง จะหา มาทดแทน ไม่ได้ จึงควรเก็บสต็อคกระเบื้องที่ใช้ไว้บ้างกระเบื้องเซรามิคให้ความรู้สึกค่อนข้างแข็ง และเย็นเท้า จึงไม่เหมาะกับการใช้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น แต่จะไปใช้ในห้องครัวหรือห้องน้ำมากกว่า แต่ข้อเสียคือใช้ไปนานๆ จะเริ่มเห็นคราบดำ และเชื้อโรค ดังนั้นพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดและควบคุมแหล่งกำเนิดเชื้อโรคแนะนำทำพื้นอีพ็อกซี่หรือพื้น PU จะดีกว่าพื้นกระเบื้อง ตัวอย่างงานพื้นกระเบื้อง พื้นอีพ็อกซี่ จะมีข้อดีดังนี้ พื้นอีพ็อกซี่ ซึ่งจะให้สมบัติเรื่องความทนทานต่อสารเคมีทั้งสภาวะกรด-ด่าง และสามารถทนต่อน้ำมันได้ดี Continue reading ข้อเปรียบเทียบระหว่างการปูพื้นกระเบื้องเทียบกับการเคลือบพื้นด้วยสีอีพ็อกซี่

การบำรุงรักษาหลังการติดตั้งพื้น Epoxy

หลังการติดตั้งพื้น Epoxy หรือการเคลือบพื้นโรงงานสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการดูแลและการบำรุงรักษาเพื่อให้สามารถยืดอายุการใช้งาน ซึ่งทางเราขอแนะนำดังนี้ 1.ทำความสะอาดด้วยการดูดฝุ่นเป็นประจำ 2.เช็ดทำความสะอาดพื้นด้วย Mop ผ้า+น้ำยาดันฝุ่น อย่างน้อยวันละครั้ง 3.เช็ดพื้นให้แห้งทุกครั้ง 4.ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดตามที่แนะนำ 5.น้ำ น้ำมัน กรด เบส จาระบีหกลงพื้นเช็ดออกให้สะอาดทุกครั้งด้วยผ้า Cotton 6.พบเศษหิน เหล็ก น๊อต ไม้หรือของแข็งอื่นให้เก็บออกทันที 7.อย่าใช้น้ำมัน ทินเนอร์ alcohol ในการเช็ดทำความสะอาดพื้น ข้อควรระวังการใช้งานพื้น Epoxy 1.แนะนำวิธีการใช้หรือข้อควรระวังกับพนักงาน 2.ใช้งานคนเข้าเดินทำงานได้หลังจากติดตั้งพื้นเสร็จ 1 วัน 3.ใช้งานได้รถ Forklift 2 tons ด้วยความระมัดระวัง หลังจากติดตั้งพื้นเสร็จ 3 ว 4.ใช้งานหนักได้ปรกติหลังจากติดตั้งพื้นเสร็จ Continue reading การบำรุงรักษาหลังการติดตั้งพื้น Epoxy

อีพ็อกซี่มอร์ต้ากับงานเคลือบพื้นอีพ็อกซี่

สำหรับงานเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ในเมืองไทยจะพบงานเคลือบพื้นในหลากหลายลักษณะ ที่พบมากๆ ก็จะเป็น Epoxy Coating (งานที่ใช้ระบบลูกกลิ้ง กลิ้งสี ความหนาน้อยกว่า 1 mm) รองลงมาจะเป็น Epoxy Self-Leveling (ระบบที่ใช้เกรียงปาดสี ใช้ช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น) สำหรับพวกงานระบบพิเศษที่พบอีกระบบก็คือ Epoxy Mortar บางครั้งจะเรียกว่ามอร์ต้าหว่านทราย หรือมีอีกชื่อ Master Mortar นอกจากนี้ยังเคยได้ยินช่างบางคนเรียกระบบนี้ว่า อีพ็อกซี่ใส วันนี้ Admin เลยจะนำความรู้เกี่ยวกับอีพ็อกซี่มอร์ต้ามาเล่าสู่กันฟัง อีพ็อกซี่มอร์ต้าเป็นระบบพื้นที่ถูกออกแบบมาเพื่อปรับระดับพื้นคอนกรีต นอกจากนี้ด้วยสมบัติของมันเองมันยังทำให้ พื้นสามารถรับน้ำหนักได้สูงขึ้น (ความแข็งพื้นสูงขึ้น) โดยมากจะนิยมทำในอุตสาหกรรมเครื่องจักรหนักที่มีรถโฟล์ทลิฟท์ขนาดมากกว่า 3 ตันขึ้นไป โดยพื้นอีพ็อกซี่มอร์ต้าจะนิยมทำเป็นพื้นชั้นกลาง กล่าวคือ อยู่ระหว่างชั้นพื้นคอนกรีตกับพื้นสีอีพ็อกซี่ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นมอร์ต้าเป็นพื้นใส ไม่มีสี และสามารถยึดเกาะกับสีอีพ็อกซี่ได้ดี Continue reading อีพ็อกซี่มอร์ต้ากับงานเคลือบพื้นอีพ็อกซี่

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Industrial Floor Surface Coating และ Epoxy Surface Coating

เรซิ่นสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสารเคลือบผิวมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่ได้รับความนิยมแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ อัลคิดเรซิน (Alkyd resin)  โพลิยูริเทน (Polyurethane) อีพ็อกซี่เรซิน (Epoxy resin) อัลคิดเรซิน (Alkyd resin)  อัลคิดเรซิน (Alkyd resin) เป็นเรซินที่จัดอยู่ในประเภทโพลิเอสเตอร์ มีสมบัติการเปียกผิวดี เงางาม ทนทานต่อความร้อนและตัวทำละลายได้ดี แต่ไม่นิยมนำมาใช้ในการเคลือบผิวพื้น เนื่องจากสมบัติเชิงกลของเรซินชนิดนี้ยังไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรม โพลิยูริเทน (Polyurethane) โพลิยูริเทน (Polyurethane) เป็นเรซินที่มีความทนกรด-ด่างและน้ำมันได้ดี มีแรงยึดผิวหน้าดี ทนการขัดสีได้สูง แต่ความทนกรด-ด่างต่ำกว่าอีพอกซีเรซิน เหลืองง่ายเมื่อถูกแสงแดด และมีราคาสูง จึงนิยมนำไปใช้ใน         Continue reading ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Industrial Floor Surface Coating และ Epoxy Surface Coating

สีทาพื้นประเภทสีอีพ็อกซี่โค้ทติ้ง สี epoxy ชนิดทา

สีอีพ็อกซี่หรือบางคนเรียกว่าสีอีพ็อกซี่โค้ทติ้งจัดอยู่ในสีประเภทสี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นสีหรือเรซิ่น เช่นสีแดง สีเขียว สีเหลือง และส่วนที่สารเร่งแข็ง โดยมากจะอยู่ในกลุ่มสารเร่งแข็งประเภทสารโพลีเอไมด์ (polyamine hardener) ซึ่งเมื่อผสมเข้าด้วยกันเคมีทั้ง 2 ส่วนจะทำปฏิกริยากันเกิดการเชื่อมขวางภายในโครงสร้างทางเคมีและแข็งตัวตามระยะเวลาที่ผ่นไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาวะแวดล้อม ณ ขณะทาสีด้วย แต่โดยมาสีประเภทสีอีพ็อกซี่ชนิดทาจะแห้งตัวที่ 4-6 ชั่วโมง และแห้งแข็งเต็มที่ที่ 7 วัน สำหรับข้อควรระวังในการผสมสีชนิดนี้คือ ควรปั่นให้เคมีทั้ง 2 ส่วนให้เข้ากันทุกครั้งไม่ควรใช้การคน เพราะเคมีทั้ง 2 จะกระจายตัวไม่ดีอาจจะมีผลทำให้สีไม่แห้งได้ สำหรับ สีอีพ็อกซี่ชนิดทานิยมใช้สำหรับเคลือบพื้นโรงงานหรือพื้นคอนกรีตที่ไม่ได้เน้นความสวบงามมากนักแต่เน้นเรื่องการทำความสะอาดที่ง่าย เพราะฝุ่นผงของปูนจะไม่ฟุ้งเนื่องจากเป็นการเคลือบปูนนอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นคอนกรีตนิยมใช้ในกลุ่มพื้นคลังสินค้า(warehouses) กลุ่มอุตสาหกรรมกระจายสินค้า (logistic center)และพื้นอุตสาหกรรมที่ใช้งานเบา สำหรับลูกค้าท่านใดมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามได้ที่ 086-620-0042 (โต) ได้ตลอดครับ

สีอีพ็อกซี่ กับสิ่งที่ไม่ควรทำในการผสม สีอีพ็อกซี่และการใช้งานสีพื้นอีพ็อกซี่

การเคลือบพื้นสีอีพ็อกซี่ จากประสบการณ์ตรงแล้วโดยมากจะพบการทำงานที่ผิดๆอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของทีมช่างสมัครเล่น หรือของผู้ใช้งานเอง ทำให้ได้พื้นสีอีพ็อกซี่ที่ไม่ตรงกับสมบัติที่ควรจะเป็น ดังนั้น เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ ทางทีมงาน ช่างเทคนิค บริษัท MATSCI SOLUTIONS Co., Ltd. จะขอเล่าข้อผิดพลาดที่พบอยู่บ่อยๆ มาเป็นข้อเตือนใจในการเคลือบพื้น สีอีพ็อกซี่ ดังนี้ ห้ามเก็บเรซิ่น (สีอีพ็อกซี่) และ Hardener ไว้รวมกัน ควรเก็บแยกกันไว้จะดีที่สุดเพราะมีโอกาสหลงลืมใช้ผิดชนิดได้ง่ายไม่ควรเตรียมสีอีพ็อกซี่โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลไม่ควรเคลือบพื้นสีอีพ็อกซี่ โดยไม่ได้ทำการเตรียมพื้นผิวให้ดีก่อนไม่ควรใช้สีอีพ็อกซี่กับงานภายนอกที่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะสีมันจะเหลือง แนะนำให้ใช้เป็นพื้น Urethane จะดีกว่าห้ามไปยุ่งกับพื้นที่เคลือบสีอีพ็อกซี่ไว้แล้วจนกว่ามันจะแข็งตัวไม่ควรผสมสีอีพ็อกซี่ไว้ในปริมาณมากๆ เพราะสีอีพ็อกซี่มีเวลาในการแห้งตัว ยิ่งในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงจะยิ่งแห้งตัวได้เร็ว ดังนั้นควรเตรียมสีอีพ็อกซี่แต่พอเหมาะไม่ควรเก็บสีอีพ็อกซี่ ไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของสีสั้นลง (เสื่อมสภาพได้ง่าย)ไม่ควรเก็บสีอีพ็อกซี่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นมากนัก เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของสีสั้นลง (เสื่อมสภาพได้ง่าย)ไม่ควรผสมสีอีพ็อกซี่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้สีอีพ็อกซี่เซ็ตตัวเร็วขึ้นไม่ควรใช้สีอีพ็อกซี่หลังจากที่มันเริ่มจะก่อตัวเป็นชั้นฟิล์มแล้วไม่ควรนำ Part A Continue reading สีอีพ็อกซี่ กับสิ่งที่ไม่ควรทำในการผสม สีอีพ็อกซี่และการใช้งานสีพื้นอีพ็อกซี่

สีอีพ็อกซี่ กับพื้นอีพ็อกซี่ และพื้นโพลียูรีเทนสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม GMP&HACCP

พื้น สีอีพ็อกซี่ หรือ พื้นโพลียูรีเทน สำหรับโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร  หลายต่อหลายครั้งที่ลูกค้าหลายๆ ท่านได้สอบถามกับทาง Admin ว่าทำไมต้องใช้พื้นอีพ็อกซี่หรือพื้นโพลียูรีเทนสำหรับโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ใช้กระเบื้องแทนไม่ดีกว่าเหรอ ราคาก็ถูกกว่า ไม่เห็นจะมีฝุ่นตรงไหนเลย ไม่ลอกง่าย(เมื่อเทียบกับพื้นอีพ็อกซี่) ดังนั้นเพื่อเป็นการคายข้องสงสัยดังกล่าว ผมจึงตั้งใจเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ หรือเล่าสู่กันฟังครับ สำหรับพื้นอีพ็อกซี่หรือพื้นโพลียูรีเทน(พื้น PU) เป็นการเคลือบพื้นโดยอาศัยปฎิกิริยาทางเคมีของสีอีพ็อกซี่กับสารทำให้แข็งตัว(Hardener) ทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสารกลุ่มเทอร์โมเซ็ต (ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คล้ายๆ เวลาเราจะติดกาวตราช้างกับชิ้นงานนั้นละครับ กาวมันจะทำปฏิกิริยากับอากาศเกิดเป็นสารกลุ่มเทอร์โมเซ็ต ซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันและเสถียรสูง) ทำให้พบลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งคือ มันติดเป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะของการปูกระเบื้อง ซึ่งต้องใช้ยาแนวในบริเวณขอบรอยต่อของกระเบื้อง ทำให้เกิดความไม่เรียบเป็นร่อง ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะเป็นที่อยู่ของเชื้อโรคและสิ่งสกปรกได้ง่าย ซึ่งในจุดนี้โรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการทำมาตรฐาน GMP&HACCP เน้นย้ำมากๆ  นอกจากนี้พื้นกระเบื้องบริเวณมุมห้องที่เป็นช่วงต่อระหว่างผนังกับพื้นกระเบื้องจะเป็นมุมฉาก ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก GMP ได้กำหนดให้บริเวณดังกล่าวต้องเป็นส่วนโค้งระหว่างผนังกับพื้น Continue reading สีอีพ็อกซี่ กับพื้นอีพ็อกซี่ และพื้นโพลียูรีเทนสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม GMP&HACCP

สีอีพ็อกซี่ กับปัญหาพื้นสีอีพ็อกซี่เป็นหลุมจากฟองอากาศ

ปัญหาหลุมฟองอากาศบนพื้นอีพ็อกซี่ พบได้บ่อยครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในขณะที่สีอีพ็อกซี่เริ่มมีการเซ็ตตัวหรือแห้ง โดยจะสามารถสังเกตุเห็นฟองอากาศบนชั้นฟิล์มตั้งแต่ขณะเริ่มเคลือบจะพบฟองบวมเล็กๆ ซึ่งเมื่อสีอีพ็อกซี่เริ่มแข็งตัวฟองดังกล่าวจะแตกตัวเป็นหลุมสีทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของสีเคลือบหรือเกิดการเป็นหลุมเป็นบ่อนั้นเอง ส่วนสาเหตุหลักๆ ก็มาจากคุณภาพของคอนกรีตและลักษณะรูพรุนของคอนกรีต ลักษณะของอากาศที่อุณหภูมิสูง หรือมีปริมาณความชื้นในอากาศสูง รวมไปถึงทินเนอร์ที่ใช้ในการผสมสีที่อาจจะมีอัตราการระเหยที่เร็วกว่าปกติ แล้วจะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร ?ก็ทำการรองพื้นอีพ็อกซี่ด้วยชั้นฟิล์มบางก่อน เพื่อทำการปิดรูพรุนของคอนกรีต(แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ได้กับพื้นปูนเก่าครับ) นอกจากนี้แนะนำให้ทำการทาสีอีพ็อกซี่ในที่แจ้งหรือที่แสงแดดส่องถึงจะดีกว่า เพราะอุณหภูมิจากแสงแดดจะทำพื้นคอนกรีตมีอุณหภูมิสูงการเกิดของฟองจะต่ำลง นอกจากที่แนะนำมานี้ในหน้างานจริงยังพบอุปกรณ์บางชนิดเพื่อช่วยในการลดปัญหาดังกล่าวได้อีกด้วย ที่สำคัญควรทำการสำรวจหน้างานก่อนการตัดสินใจทำทุกครั้งเพื่อดูปริมาณความชื้น ลักษณะเนื้อปูน และรูปแบบการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้งานอย่างคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป